วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน)






ประวัติความเป็นมา

ผลิตภัณฑ์ สายอาหารในเครือบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ที่ก่อตั้งโดย ดร.เทียม โชควัฒนา โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์สายอาหารของสหพัฒน์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ และประสบความสำเร็จอย่างสูง อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า และ บิสกิตนิสชิน ซึ่งทั้งสองผลิตภัณฑ์มีแป้งสาลีเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทำให้มีแนวความคิด ที่จะขยายธุรกิจเข้าไปในสายขนมปังและเบเกอรี่ซึ่งใช้ แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบเช่นกัน

ในสมัยนั้นผู้ประกอบการเบเกอรี่ส่วนใหญ่เป็นรายเล็กและดำเนินธุรกิจแบบ ครอบครัวผลิตภัณฑ์ ที่มีในตลาดก็ไม่มีคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอ ขาด พัฒนาการทั้งในแง่ของตัวผลิตภัณฑ์ ระบบการจัดจำหน่ายและการจัดการที่ดี ความเข้าใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่มีคุณภาพมาตรฐานยังมีน้อย ขนาดของตลาดและความนิยมในการบริโภคเบเกอรี่ยังมีไม่มากนัก

อย่างไรก็ดี ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม ที่มีพื้นฐานมาจากด้านการเกษตร ประกอบกับวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไป ประชากรจากชนบทเคลื่อนย้ายเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้นประเทศเริ่ม มีบทบาททำให้มีชาวต่างชาติเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศมากขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนสร้างโอกาสผลิตภัณฑ์เบเกอรี่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตคนไทยได้ดียิ่งๆ ขึ้น

ดังนั้น บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด จึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายขนมปังและผลิตภัณฑ์ เบเกอรี่ที่มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมสากลภายใต้ตรา "ฟาร์มเฮ้าส์"

กิจการมีรายได้และมีความมั่นคงได้อย่างไร

เนื่องจากบริษัทฯ มิได้ดำเนินธุรกิจเพียงเพื่อแสวงหาผลกำไรเท่านั้น แต่มีปรัชญาในการผลิตที่แสวงหาคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดโดยยึดหลักปฎิบัติ 4 ประการ คือ

1. ใชัวัตถุดิบดีที่สุด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการทางโภชนาการของคนไทยอย่างไม่หยุดนิ่ง
3. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการจัดการ เพื่อสร้างคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
4. ยึดถือหลักความปลอดภัย สด สะอาด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

บริษัทฯ มีความตั้งใจในการรักษาความเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายขนมปัง และเบเกอรี่อื่นๆ ในลักษณะค้าส่งที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสม่ำเสมอ รวมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าใหม่เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เป็นการขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาสินค้าเดิมให้มีมูลค่าเพิ่มให้สามารถตอบสนองความต้องการและ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในที่สุด

ดังนั้นจึงทำให้บริษัทมีความมั่นคงและมีรายได้จากการทำกิจกรรมตรงส่วนนี้ที่ได้จัดทำเป็นอย่างดีและมีความตั้งมั่นที่จะรักษาและปฏิบัติตามหลักดังกล่าวนี้ให้ได้อย่างแท้จริง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ฟาร์มเฮ้าส์กลายเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ครองใจผู้คนโดยทั่วไปและเป็นที่นิยมของทุกๆ คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต่างก็ทานฟาร์มเฮ้าส์กันทั้งสิน


- สินค้าและบริการของธุรกิจ

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายขนมปังและเบเกอรี่อื่น ๆ โดยสายธุรกิจแบ่งได้ดังนี้

1. ธุรกิจเบเกอรี่ค้าส่ง ( Wholesale ) มีสัดส่วนการขายเป็น 89.96% ของยอดรายได้รวมของบริษัท ได้แก่

ขนมปังชนิดแผ่น เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่บริษัท เริ่มผลิตและจัดจำหน่าย ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างการรับรู้ในแบรนด์ฟาร์มเฮ้าส์ให้กับผู้บริโภคได้มากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับเป็นผลิตภัณฑ์หลักในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท ด้วยความที่ลักษณะผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความหลากหลายในการบริโภคได้ เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับครอบครัว ทำให้กลุ่มบริษัท ได้พัฒนาและเพิ่มความหลากหลายทั้งชนิด และขนาดสินค้ามากขึ้นจากเดิมที่มีเพียงขนมปังชนิดแผ่นธรรมดา โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
(1) White Bread (2) Grain Bread (3) Flavored Bread ขนมปังแฮมเบอร์เกอร์ และขนมปังฮอตดอก สินค้าที่จำหน่ายได้แก่ ขนมปังแฮมเบอร์เกอร์ และขนมปังฮอตดอก เป็นลักษณะสินค้าที่สามารถการนำไปทำเมนูอาหารต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น แฮมเบอร์เกอร์ไส้ต่างๆ หรือฮอตดอกไส้ต่างๆ เป็นต้น Snack Bread ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในกลุ่ม Snack Bread เป็นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็น ของหวาน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งชนิดสินค้า รสชาติ และขนาดของสินค้า สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย สะดวกต่อการบริโภค และการพกพา อาทิ เช่น ขนมปังสอดไส้หวาน และ สอดไส้คาว , ขนมปังทาหน้า , ขนมปังแพ , ขนมปังฮอทดอกครีม , ทรีโอบัน , เรนโบว์บัน และ บัตเตอร์โรล
Snack Cake ผลิตภัณฑ์ที่บริษัท ผลิตและจำหน่าย ได้แก่ เค้กโรลรสชาติต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะเค้กพรีเมี่ยมพร้อมทาน อร่อย มีคุณภาพ มีลักษณะ บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยดูโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งทั่วไป รวมไปถึงโดรายากิ ขนมรสนุ่มสไตล์ญี่ปุ่นและ ซอฟท์เค้กที่ใช้ระบบไอน้ำอันเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิต ให้ได้เนื้อเค้กที่นุ่ม และรสชาติอันกลมกล่อม
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Confectionery ได้แก่ คุ้กกี้รสชาติต่างๆ และ ฟรุ๊ตพาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะมีความแปลกใหม่ ทันสมัย บริษัทจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนา และปรับปรุงรูปแบบสินค้า รสชาติ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา และ ขนมปังกรอบอบเนยที่สามารถทานเป็นอาหารว่างและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ บริโภค

2. ธุรกิจเบเกอรี่ค้าปลีก ( Retail ) มีสัดส่วนการขายเป็น 3.52% ของยอดรายได้รวมของบริษัท ได้แก่

Deliya by Farmhouse

จากนโยบายของบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกขนมปังและเบเกอรี่ ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวในอนาคต ประกอบกับประสบการณ์ยาวนานในตลาดเบเกอรี่ ความน่าเชื่อถือของบริษัท และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากประเทศญี่ปุ่น บริษัท ฯ จึงได้ดำเนินการเปิดร้าน Deliya by Farmhouse ซึ่ง "Deli" มาจากคำว่า "Delicious" แปลว่า "อร่อย" ส่วน "Ya" เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "ร้าน" Deliya จึงหมาย ถึงร้านเบเกอรี่ที่มีสินค้ารสชาติอร่อยถูกปาก ใช้สีสัญลักษณ์ของร้านเป็นสี ส้ม และ เขียว โดยภายในร้านจะมีภาพของเบเกอรี่ที่น่ารับประทานตกแต่งไว้ ส่วนผนังของร้านจะเป็นโทนอิฐ เพื่อแสดงถึงความอบอุ่นของร้านเบเกอรี่ และ ความสดใหม่ที่อบร้อน ๆ จากเตา ด้านหลังของร้านถูกจัดสรรเป็นส่วนการผลิต โดยทำในลักษณะ Window Kitchen แสดงให้เห็นการผลิตสินค้าซึ่งผลิต ณ จุดขาย

Deliya by Farmhouse ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมปังและเบเกอรี่ ซึ่งเน้นความทันสมัยและอบสด ใหม่ ณ จุดขาย พร้อมเสิร์ฟความสด ใหม่ อร่อยให้ถึงมือลูกค้า รวมถึงการสร้างความประทับใจในการเข้ามาใช้บริการที่ร้าน ทั้งในด้านการบริการของพนักงาน และสินค้าที่หลากหลาย Deliya by Farmhouse มุ่งเน้นในการคัดสรรวัตถุดิบ ส่วนผสมชั้นดี มีคลุกเคล้าจนเป็นเบเกอรี่ที่มีคุณภาพ สด ใหม่ และอร่อย รวมทั้งเครื่องดื่มต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเบเกอรี่ ภายใต้สโลแกน So.. Delicious ปัจจุบัน Deliya by Farmhouse Madame Marco

สัมผัสรสชาติอันกลมกล่อมของพรีเมียมเค้กเนื้อเนียนนุ่มที่ คัดสรรคุณค่าจากส่วนผสมที่ขึ้นชื่อจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้คุณเข้าถึงรสชาติเค้กสูตรต้นตำหรับฝรั่งเศษแท้ๆ
ด้วยรสชาติหอมหวานนุ่มละมุน ผสานกับขั้นตอนการปรุงแต่งที่พิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด
เพื่อให้คงไว้ซึ่งคุณภาพความสดใหม่ และรสชาติของพรีเมียมเค้กสไตล์ยุโรปภายใต้ชื่อ Madame Marco Farmhouse Moon Cake (ขนมไหว้พระจันทร์)

ขนมไหว้พระจันทร์ รสเลิศตามสูตรตำรับจีนโบราณ ที่มีรสชาติอร่อย กลมกล่อมด้วยไส้ ปริมาณมากที่อยู่ภายในเนื้อแป้งบางนุ่มเป็นพิเศษ รวมไปถึงลวดลายอันเป็นสิริมงคลที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น มีทั้งหมด 12 ไส้ จำหน่ายโดยตรงกับผู้บริโภค รวมถึงจ้างผลิตให้กับร้านอาหารต่างๆ Good Morning Farmhouse

3. ธุรกิจฟาสต์ฟู้ด และร้านอาหาร/ภัตตาคาร (Fast Food & Catering) มีสัดส่วนการขายเป็น6.31% ของยอดรายได้รวมของบริษัท ได้แก่ Fastfood

ผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตและจำหน่าย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แช่แข็ง, ขนมปังแฮมเบอร์เกอร์ และ ขนมปังฮอทดอกในหลากหลายขนาด ทั้งแบบโรยงาและไม่โรยงา ซึ่งบริษัทมีการผลิตแบบอัตโนมัติทั้งกระบวนการผลิต มีความสามารถในการผลิต 36,000 ชิ้น/ชั่วโมง ปัจจุบันถือได้ว่าบริษัทเป็น Supplier รายใหญ่ที่สุดของประเทศ Catering นอกเหนือจากฟาสต์ฟู้ดต่างๆ แล้ว บริษัทยังได้ขยายการจำหน่ายไปยังกลุ่มร้านอาหาร สายการบิน ตลอดจนธุรกิจร้านกาแฟต่างๆ ที่ต้องการเบเกอรี่เป็นส่วนหนึ่งของเมนูในร้าน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมีการผลิตและจำหน่าย อยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว ยังหมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่บริษัทได้ทำการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองกลุ่ม ลูกค้าแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ Fried products เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทชุบทอด ได้แก่ เกล็ดขนมปัง และขนมปังป่นปรุงรส ซึ่งใช้ในการทำอาหารชุบทอดต่างๆ

4. ธุรกิจส่งออก (Export) มีสัดส่วนการขายเป็น 0.01% ของยอดรายได้รวมของบริษัท บริษัทได้ทำการพัฒนาสินค้า เพื่อส่งจำหน่ายไปยังประเทศญี่ปุ่น สำหรับลูกค้าที่เป็น Coffee Shop Chain ซึ่งมีชื่อเสียงมากในญี่ปุ่น

- กิจการได้วัตถุดิบมาได้อย่างไร

วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตขนมปังและเบเกอรี่ ได้แก่แป้งสาลี บริษัทมีมูลค่าการใช้แป้งสาลี คิดเป็นประมาณร้อยละสามสิบของต้นทุนขายของบริษัท โดยแป้งสาลีทั้งหมดจะได้มาจากการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศและนำมาโม่เป็นแป้งสาลี เนื่องจากข้าวสาลีเป็นสินค้าเกษตรที่ความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นผลผลิตข้าวสาลีจึงได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว อีกทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนการปลูกข้าวสาลี เช่น การปลูกข้าวโพดหรือถั่วเหลือง เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนมากขึ้นสำหรับความเคลื่อนไหวราคาข้าวสาลีในตลาดโลกรวมค่าขนส่ง ในปีที่ผ่านมา (มกราคม - ธันวาคม 2552) ราคาขายรายเดือนมีการปรับตัวเคลื่อนไหวในช่วงประมาณ 272 ถึง 347 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยราคาเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดในปี 2552 อยู่ที่เดือนพฤษภาคม และราคาเฉลี่ยต่อเดือนที่ต่ำสุดในปี 2552 จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ดีบริษัทได้มีการเจรจาต่อรองราคาแป้งสาลีกับผู้ขายในประเทศหลายรายเพื่อให้ได้ราคาและคุณภาพที่ดีที่สุด ซึ่งบริษัทซื้อแป้งสาลีในปริมาณมากทำให้บริษัทมีอำนาจในการต่อรองสูง

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงยึดถือนโยบายด้านการจัดซื้อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดซื้อสูงสุดดังนี้

1. ในการซื้อวัตถุดิบของบริษัท จะต้องมีผู้ขายหลายรายเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทั้งในด้านคุณภาพ และราคา จึงทำให้บริษัทสามารถซื้อวัตถุดิบได้ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด

2. การปรับปรุงกระบวนการผลิตและสูตรการผลิตเพื่อให้สามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


- กิจการผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร

โรงงานของ บริษัทฯ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง บนพื้นที่รวม 12 ไร่ 2 งาน 40 ตร.วา โดยแบ่งเป็น 3 อาคาร พื้นที่ใช้สอยรวม 26,680 ตารางเมตร ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ ผลิตจากโรงงานแห่งนี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและดีที่สุดจากหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น สินค้าที่ผลิตออกมาจึงมีคุณภาพสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมต่อการจัดจำหน่ายทั่วภูมิภาคของประเทศไทยได้วันต่อวัน

บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพที่ดีของสินค้าที่ ผู้บริโภคจะได้รับเป็นสิ่งสำคัญดังนั้น บริษัทฯ จึงเข้มงวดกับทุกขั้นตอนการผลิตเริ่มตั้งแต่การรับวัตถุดิบ จนถึงการส่งสินค้าสำเร็จรูปออกจากโรงงาน นอกจากนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ดีและทันสมัย สามารถผลิตสินค้าที่ดีที่สุด และมีคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอมาติดตั้งในทั้งสามอาคารผลิต ไม่เพียงแต่ความทันสมัยของกระบวนการผลิตเท่านั้น ในเรื่องของวิศวกรรมโครงสร้างและการออกแบบตัวอาคารก็เป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ง่ายต่อการควบคุมดูแล และคำนึงถึงความเพียงพอของแสงสว่างและระบบหมุนเวียนอากาศที่ดีภายในโรงงาน

การควบ คุมคุณภาพเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยบริษัทฯ มีแผนกควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพของทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การรับวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์และวัสดุต่างๆ ที่ใช้สำหรับการผลิตให้เป็ไปตามมาตรฐานของกรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ "หลักปฏิบัติที่ดีในการผลิต" หรือ GMP (Good Manufacturing Practices) และการรับรองระบบ "การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม" หรือ HACCP (Hazard Analysis and Crittical Control Point) ซึ่งการควบคุมคุณภาพนี้ยังได้ทำกลับไปจนถึงต้นทางได้แก่ การตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของ Supplier ผู้ขายวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์และวัสดุต่างๆ เหล่านั้นให้แก่บริษัทฯ

นอกจากนี้ ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิตของกระบวนการผลิตจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอนจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปตามมาตรฐานที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานในเรื่องความปลอดภัย สด สะอาดของสินค้า วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปในที่ไม่ได้มาตรฐานจะต้องถูกคัดออก ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ เหล่านี้ รองรับด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีการตรวจสอบและวิเคราะห์ตลอดจนห้องปฎิบัติการที่มี ความพร้อมของเครื่องมือที่ทันสมัยและมีความถูกต้องในการวิเคราะห์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหลักประกันคุณภาพสินค้าที่ดีของบริษัทฯ ตลอดมา นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับใบอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


- กิจการนำส่ง (จำหน่าย) สินค้าหรือบริการสู่ลูกค้าอย่างไร

สำหรับนโยบายทางด้านการกระจายสินค้านั้น บริษัทยึดหลักการผลิตและจำหน่ายสินค้าตามความต้องการของตลาดและลูกค้า ซึ่งจะมีการสรุปยอดขายของพนักงานขาย โดยในแต่ละวันพนักงานขายจะประเมินความต้องการผลิตภัณฑ์ โดยใช้สถิติข้อมูลการขายในอดีตที่ผ่านมาในเขตที่ตนรับผิดชอบและส่งคำสั่งผลิตให้โรงงานผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสินค้าแต่ละวัน เพื่อให้สินค้าที่ออกสู่ตลาดมีความสดใหม่ทุกวันไม่เหลือค้างเป็นของเก่าบนชั้นวางสินค้า และสำหรับขนมปังแฮมเบอร์เกอร์ที่จำหน่ายในร้านฟาสต์ฟู้ด และร้านสะดวกซื้อรวมทั้งเค้กมาดาม มาร์โก้ จะผลิตตามคำสั่งของลูกค้า เพื่อผู้บริโภคจะได้รับเบเกอรี่ที่มีความสดใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ เพื่อคุณภาพที่ดีของสินค้าและประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคบริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายขนมปังรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำระบบ Mobile Computer System มาใช้ในการจัดจำหน่าย และการกระจายผลิตภัณฑ์สู่ร้านค้าต่างๆโดยพนักงานขายสามารถตรวจสอบดูข้อมูลสถิติการจำหน่ายย้อนหลังได้ ส่งผลให้บริษัทสามารถควบคุมปริมาณการจัดส่งผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของร้านค้ามากที่สุด และบริหารความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ ณ จุดขายได้วันต่อวัน ทำให้มีสินค้าคืนในอัตราที่ต่ำมาก เมื่เปรียบเทียบกับเบเกอรี่รายอื่นๆทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้บริษัท ยังมีการขยายช่องทางการจำหน่ายทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกพื้นที่ของประเทศไทยให้ได้มากที่สุด โดยมีการจัดจำหน่ายผ่านกลุ่มร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) และร้านค้าปลีกสมัยใหม่(Modern Trade)

สำหรับการกระจายผลิตภัณฑ์นั้น บริษัทมีศูนย์กลางการกระจายสินค้า (Distribution Center) กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยรวม 35 แห่ง และขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังร้านค้าต่างๆด้วยรถขนส่งของบริษัท ซึ่งมีจำนวนมากถึง 696 คัน จะเห็นได้ว่าบริษัทมีความพร้อมในทุกๆ ด้านของการขนส่งและจัดจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งทั้งหมด ซึ่งยังใช้ระบบและวิธีการจัดจำหน่ายแบบเดิมๆ นับได้ว่าบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมาก ดังนั้นตลอดเส้นทางการเป็นผู้นำในธุรกิจเบเกอรี่ของบริษัท จึงดำเนินไปอย่างมั่นคงและมั่นใจ

- กิจการเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการอย่างไร

บริษัทฯเก็บเงินค่าสินค้า โดยการที่เมื่อมีการสั่งสินค้าไปจำหน่ายยังสถานที่หรือศูนยืกระจายสินค้า ก็จะทำการให้เครดิตไว้ก่อน จากนั้นเมื่อสินค้านำไปส่งถึงที่แล้วจึงเรียกเก็บเงินค่าของ โดยจะให้เครดิต 7- 15 วัน ทั้งนี้ราคาสินค้านั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและบริการนั้นๆ

- คนผู้ปฏิบัติงานในกิจการต้องมีคุณสมบัติพิเศษอะไร

ผู้ที่ปฏิบัติงานในบริษัทฯ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ คือ มีความรู้ความสามารถ มีตวามคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆ โดยหัวใจหลักของการพัฒนาบุคลากรของบริษัทคือ “การพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เพราะองค์ประกอบต่างๆ นี้ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน”

ทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าเป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจทรัพยากรมนุษย์จัดเป็นต้นทุนประเภทหนึ่ง ในลักษณะของต้นทุนทางปัญญา ซึ่งมูลค่าของทรัพยากรมนุษย์นั้นจะอยู่ที่พฤติกรรมและผลของการทำงาน ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงพยายามมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของพนักงานให้มีประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพราะทรัพยากรมนุษย์จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญซึ่งจะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่มุ่งหวังไว้ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ในทุกระดับตามความจำเป็นของแต่ละสายงาน สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวมถึงการพัฒนาทางเทคโนโลยีการผลิต การขาย และการจัดการในด้านต่างๆ โดยในระดับหัวหน้างานนอกจากความรู้ในงานแล้ว บริษัทจะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นด้านการบังคับบัญชา อาทิหลักสูตร Daily Management การสอนงาน และ Feedbackรวมถึงการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ เป็นต้น ระดับปฏิบัติการมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความรู้ที่ตรงกับสายงานจากหัวหน้างานหรือผู้มีประสบการณ์ในแต่ละสายงาน บริษัทได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสอนงานและการถ่ายทอดความรู้ภายในองค์กรจึงได้จัดการอบรมหลักสูตรวิทยากรภายใน Train the Trainerเพื่อเพิ่มทักษะการเป็นวิทยากรให้กับบุคลากรในสายงานต่างๆและเนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจด้านการผลิตอาหาร ดังนั้นพนักงานในสายการผลิต รวมถึงสายงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องได้รับความรู้ด้านระบบคุณภาพต่างๆ ได้แก่ 5 ส GMP HACCPTPM และระบบความปลอดภัยด้วย ส่วนพนักงานด้านการขายจะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้านการวางแผนการขาย (Presale) และTeam Spirit เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการขาย ส่วนพนักงานในสายงานอื่นๆ จะเน้นพัฒนาความรู้ตามสายงานที่รับผิดชอบและความรู้พื้นฐานที่จำเป็น





ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา บริษัท เพรซิเดนท์เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจตามปรัชญาในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และยึดมั่นในนโยบายคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักปฏิบัติ 4 ประการคือ
1. เลือกวัตถุดิบที่ดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสนองความต้องการทางโภชนาการของคนไทยอย่างไม่หยุดนิ่ง
3. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการจัดการ เพื่อสร้างคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
4. ยึดหลักความปลอดภัย สด สะอาด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีที่สุด
ส่งผลให้ในปี 2555 บริษัท ได้รับรางวัล อ.ย. Quality Award 2012 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ภายใต้คำขวัญ “คุณภาพปลอดภัย ใส่ใจสังคม” จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในฐานะผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ดำเนินการที่ดี รักษามาตรฐานการผลิต มีจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ฟาร์มเฮ้าส์ เป็นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ชั้นนำที่ครองใจผู้บริโภคมาโดยตลอด และในปีนี้ บริษัทได้ติดตั้งเครื่องจักรเพื่อผลิตขนมปังชนิดแผ่นเพิ่มเป็นสายการผลิตที่ 6 ที่โรงงานบางชัน และเครื่องจักรเพื่อผลิตขนมปังเดลี่แซนด์วิชเพิ่ม ที่โรงงานลาดกระบังบริษัทได้ขยายหน่วยขายเพิ่มขึ้น เพื่อสามารถขยายพื้นที่การขายให้ครอบคลุมได้มากยิ่งขึ้น





สายธุรกิจและผลิตภัณฑ์



แสดงโครงสร้างองค์กร




บทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในบริษัท

1. ฝ่ายขาย
มีหน้าที่ ในการขายสินค้าของบริษัท ดูแล รับผิดชอบฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่เพื่อต้องการจำหน่ายสินค้า ให้บริษัท โดยฝ่ายขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาซื้อทั้งหมดและข้องมูลของสินค้า ที่ขาย

ปัญหาภายใน
1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก เอกสารต่าง ๆ มีดังนี้
1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
1.2 เอกสารการสั่งซื้อสินค้า
1.3 เอกสารการขาย รวมถึงรายละเอียดของตัวสินค้าที่ขาย
1.4 รายละเอียดการรับประกันของสินค้า
2. เอกสารต่าง ๆ ถูกค้นหาได้ยาก เพราะการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ
3. เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เนื่องจากเอกสารมีเยอะต้องจัดเก็บหลายที่
4. ข้อมูลเกิดการซ้ำซ้อน เพราะ บางครั้งลูกค้า 1 ท่าน อาจซื้อสินค้า หลายครั้ง และฝ่ายขายมีการเก็บข้อมูลทุกครั้ง เอกสารจึงเกิดความซ้ำซ้อน

2. ฝ่ายบัญชี
มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณและดูแลรายรับรายจ่ายของบริษัท แล้วจึงนำเสนอให้ผู้บริหาร มีการรับข้อมูลจากฝ่ายขาย

ปัญหาภายใน
1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก
2. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
4. การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ

3. ฝ่ายผลิต
มี หน้าที่ผลิตสินค้าของบริษัทที่จะออกจำหน่าย และทำการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพผ่านตามมาตรฐานที่บริษัทวางไว้และนำเก็บเข้า คลังสินค้าเพื่อทำการสต็อกสินค้าเอาไว้จำหน่าย

ปัญหาภายใน
1. ฝ่ายผลิตสินค้าไม่ทราบจำนวนของสินค้าที่ต้องการผลิตตามความเหมาะสม
2. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. ฝ่าย คลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวน สินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร

4. ฝ่ายขนส่ง
มี หน้าที่ ขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าให้ตรงตามเวลา และสถานที่ที่กำหนด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ โดยรับสินค้าจาก ฝ่ายผลิตและคลังสินค้า

ปัญหาภายใน
1. ข้อมูล มีความแตกต่าง เนื่อง ลูกค้ามีการสั่งซื้อสินค้ามาก จึงต้องมีการจัดส่งสินค้าหลายที่ ทำให้ไม่ทราบลำดับในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง
2. เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
3. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
5. ฝ่ายบุคคล
มี หน้าที่ในการจัดการดูแล งานด้านการบริหารบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับพนักงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การลงโทษนักงาน ในองค์กร

ปัญหาภายใน
1. เอกสารมีจำนวนมาก ยากต่อการจัดเก็บ
2. การค้นหาเอกสารเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ
6. ฝ่ายคลังสินค้า
มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่ง

ปัญหาภายใน
1.เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ

ระบบการสั่งซื้อสินค้า
ความสามารถของระบบ
1.พนักงาน
- สามารถเข้าไปดูรายการสั่งซื้อของลูกค้าได้
- สามารถดูข้อมูลของลูกค้าได้
2.ลูกค้า
- สามารถดูรายการสินค้าได้
- สามารถสั่งสินค้าได้
3.ผู้บริหาร
-สามารถดูข้อมูลรายงานการสั่งซื้อ
-สามารถดูข้อมูลรายการสินค้า





การออกแบบฐานข้อมูล



ระบบสินค้า
* รับสินค้า แยกตาม ฝ่าย แผนก หน่วยงาน คลัง
* จ่ายสินค้า แยกตาม ฝ่าย แผนก หน่วยงาน คลัง
* โอนสินค้าระหว่างคลังได้
* ตัดจ่ายสินค้าเสีย / ชำรุด
* ตรวจนับจำนวนสินค้า
* เก็บสถานะสินค้าทั้ง ปกติ หรือหมดอายุ หรือเสีย
* คุม Serial Number ได้

การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
* Stock Card สินค้า
* การรับสินค้า
* การจ่ายสินค้า
* ตรวจสอบประวัติของ Serial สินค้า









ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน)
1. ชื่อระบบ ระบบจำหน่าย
2. ระบบทำอะไรได้
ลูกค้า
- ส่งข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า และข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าเข้าสู่ระบบ
- ภายในระบบจะมีขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการการสั่งซื้อจึงสามารถแสดงใบเสร็จสินค้า ให้กับลูกค้าได้

พนักงาน
- เมื่อได้รับข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า พนักงานจะส่งรายการสั่งซื้อและข้อมูลการตรวจสอบสินค้า
- เมื่อระบบทำงานเรียบร้อยจะแจ้งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า และใบเสร็จให้กับพนักงาน

ผู้จัดการ
- เมื่อผู้จัดการต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ จะส่งข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าสู่ระบบ
- เมื่อระบบทำการประมวลผลเรียบร้อยจะส่งข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุง และรายงานต่าง ๆ ให้กับผู้จัดการ



อธิบาย Context Diagram
จาก Context Diagram ของระบบการขายซึงสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขายนี้ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และผู้จัดการ ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดัง กล่าวกับระบบทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบการขายนี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง (แต่จะไม่ทราบว่าทำอย่างไร) สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Data Flows เข้าและออกระหว่าง External Agents ของระบบได้ดังนี้

DFD LEVEL 0



อธิบาย DFD LEVEL 0
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบการขายออกเป็น 5 ขั้นตอน (Process) ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยการแบ่งแยกแต่ละ Process ตามหมวดหมู่ของข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. Process 1 ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลัก เป็นระบบการขายที่จัดการข้อมูลทั้งหมดของระบบ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อพนักงานต้องการปรับปรุงข้อมูลหรือว่าเรียกดูข้อมูลที่ต้องการจะส่ง ข้อมูลที่ต้องการปรับปรุงเรียกดูเข้าสู่ระบบจากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลลูกค้าหรือแฟ้มข้อมูลสินค้า มาทำการปรับปรุง เมื่อทำการปรับปรุงเรียบร้อย Process จะส่งข้อมูลไปจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลเดิม ข้อมูลที่ได้ผ่านการปรับปรุงเรียกดู Process จะทำการส่งข้อมูลที่พนักงานต้องการเรียกดูไปให้กับพนักงาน

2. Process 2 สืบค้นสินค้า เป็นระบบการขายที่ทำการค้นหาข้อมูลสินค้า สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกค้าต้องการสืบค้นข้อมูลสินค้า ลูกค้าจะทำการส่งรายการที่ต้องการค้นหาเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้าแล้วระบบจะทำการแสดงรายการที่ลูกค้าค้น หาให้แก่ลูกค้า

3. Process 3 สั่งซื้อสินค้า เป็นระบบการขายที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้าจะส่งรายการสั่งซื้อสินค้าเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยจะนำข้อมูลไปบันทึกที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและ จะส่งใบสั่งซื้อสินค้าไปให้ลูกค้า

4. Process 4 ระบบชำระเงิน เป็นกระบวนการที่เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าแล้วจะต้องไปทำการชำระเงิน สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกค้าต้องการชำระเงินจะทำการส่งรหัสลูกค้าและเลขที่ใบสั่งซื้อเข้าสู่ ระบบ จากนั้น Process จะ ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ ข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยระบบจะทำการส่งข้อมูลการชำระเงินไปจัดเก็บที่ แฟ้มข้อมูลการชำระเงินและส่งใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า

5. Process 5 พิมพ์รายงาน เป็นระบบการขายที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อผู้จัดการต้องการพิมพ์รายงานผู้จัดการจะทำการเลือกรายงานจากระบบจาก นั้น Process จะ ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลลูกค้า โดยแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ แฟ้มข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยระบบจะทำการส่งรายงานให้กับผู้จัดการ



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 1
Process 1 ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้
1. Process 1.1 เลือกรายการและตรวจสอบรายการที่ต้องการปรับปรุง เป็นขั้นตอนการเลือกรายการและตรวจสอบรายการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มข้อมูลลูกค้าและดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ
2. Process 1.2 แสดงข้อมูลเป็นขั้นตอนการแสดงข้อมูล
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 1.1 มาทำการแสดงข้อมูล
3. Process 1.3 บันทึกข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วเป็นขั้นตอนที่ทำการบันทึกข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงเรียบร้อย
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 1.2 นำมาประมวลผลจากนั้นจะทำการบันทึกข้อมูลไปยังแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลลูกค้า และจะส่งข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงไปให้กับพนักงาน



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 2
Process 2 สืบค้นข้อมูลมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอนหรือ 2 Process ดังนี้

1. Process 2.1 ตรวจสอบรายการสินค้าเป็นขั้นคอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการสินค้า

2. Process 2.2 แสดงรายละเอียดสินค้าเป็นขั้นตอนการแสดงผลการค้นหาข้อมูลสินค้า
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 2.1 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 3
Process 3 สั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 5 ขั้นตอนหรือ 5 Process ดังนี้

1. Process 3.1 ตรวจสอบข้อมูล เป็นขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
- Process จะ ทำการดึงข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลดังกล่าวมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบ ข้อมูล
2. Process 3.2 เลือกรายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.1 มาทำการประมวลผลเพื่อทำการเลือกรายการสินค้า
3. Process 3.3 แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนที่ระบบจะทำการแสดงผลเพื่อแสดงรายละเอียด
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.2 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดไปให้กับลูกค้า
4. Process 3.4 ยืนยันการสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการทำการยืนยันการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.3 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อ
5. Process 3.5 บันทึกเป็นขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.4 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าไปจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและส่งใบสั่งซื้อให้กับลูกค้า



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 4
Process 4 ชำระเงินเป็นขั้นตอนการชำระเงินของลูกค้า ที่ทำการสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 7 ขั้นตอน หรือ 7 Process ดังนี้

1. Process 4.1 ตรวจสอบรหัส/เลขที่ใบสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการตรวจสอบรหัสและเลขที่ใบสั่งซื้อ
- Process ทำ การรับรหัสลูกค้า เลขที่ใบสั่งซื้อจากลูกค้าและทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อมาทำ การประมวลผลเพื่อตรวจสอบรหัส/ใบสั่งซื้อ

2. Process 4.2 ตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงิน เป็นขั้นตอนการตรวจสอบเงือนไขที่เกี่ยวกับการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.1 และทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบเงื่อนไข

3. Process 4.3 แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนการแสดงรายละเอียดการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.2 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดการชำระเงินให้กับลูกค้า

4. Process 4.4 เลือกการชำระเงินเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะต้องทำการเลือกเงื่อนไขในการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.3 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้าทำการเลือกการชำระเงิน

5. Process 4.5 ยืนยันการชำระเงินเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะต้องทำการยืนยันการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.4 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้าทำการยืนยันการชำระเงินที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้า

6. Process 4.6 บันทึกเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าต้องการทำบันทึกข้อมูล
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.5 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการชำระเงินของลูกค้า

7. Process 4.7 พิมพ์เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะทำการพิมพ์รายงานที่ต้องการออกมา
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.6 มาทำการประมวลผลเพื่อพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 5
Process 5 พิมพ์รายงานมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอน หรือ 2 Process ดังนี้

1. Process 5.1 ตรวจสอบข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
- Process ทำการรับข้อมูลจากผู้จัดการแล้ว Process ทำ การดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลการชำระเงิน แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ มาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล

2. Process 5.2 พิมพ์เป็นขั้นตอนการพิมพ์รายงาน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 5.1 มาทำการประมวลผลเพื่อทำการพิมพ์รายงานที่ผู้จัดการต้องการให้กับผู้จัดการ






การปรับระบบเข้าหากัน
ปรับระบบเข้าหากันมี Table Workman ซ้ำกัน 3 Table คือ Order Table ระบบสั่งซื้อสินค้า , Products Table ระบบสินค้า ,Distribution Table ระบบจำหน่าย
การปรับระบบเข้าหากันจึงใช้วิธีการปรับ Table ทั้ง 3 Table เป็น Table ที่ใช้งานในระบบ